เลือกกองทุนอย่างไรดี

การลงทุนในกองทุน เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีในการวางแผนการลงทุน โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาหรือความชำนาญในการเลือกหุ้นเป็นรายตัว นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกที่ง่ายที่สุดถ้าเราต้องการกระจายลงทุนไปยังต่างประเทศ

ในปัจจุบัน มีกองทุนจากหลาย บลจ. ให้เราเลือกซื้อลงทุน รวมแล้วมากกว่า 100 กองทุน แล้วเราจะควรเลือกกองทุนไหนดี น่าจะเป็นสิ่งที่หลายๆคนมีคำถาม

—–

ก่อนอื่นเลยผมอยากให้คนที่สนใจลงทุนในกองทุน อ่านข้อมูลใน Fund Fact Sheet ซึ่งในนี้จะมีข้อมูลตั้งแต่ชื่อกองทุน นโยบายการลงทุน และผลตอบแทนในอดีต

แต่สิ่งที่หลายคนทำผิดพลาดเมื่ออ่าน Fund Fact Sheet ก็คือจะพิจารณาแต่ผลตอบแทนปีล่าสุดอย่างเดียวว่าเป็นเท่าไร กองไหนเยอะ ก็ซื้อกองนั้น

ซึ่งการที่ดูแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ แต่เราต้องดูความเสี่ยงด้วย

ส่วนใหญ่ใน Fund Fact Sheet จะมีข้อมูลบอกถึง ผลการดำเนินงาน และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของปีที่ผ่านๆมา ซึ่งเจ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนี่แหละ ที่เป็นตัวบอกถึงความเสี่ยง

—–

ผมขอยกตัวอย่าง กองทุน 2 กองทุน เพื่อเป็นกรณีศึกษา คือ

1. กองทุน K-INDIA
ซึ่งปี 2560 มีผลตอบแทนที่ 30.6% และมีค่าความเสี่ยงที่ 7.1%

2. กองทุน K-INDX
ซึ่งปี 2560 มีผลตอบแทนที่ 37.3% และมีค่าความเสี่ยงที่ 10.4%

(ขอใช้ข้อมูลปี 2560 เพราะปี 2561 ผลตอบแทนติดลบทั้งสองกองทุน อาจทำให้ดูงง)



จากสองกองทุนนี้ เราควรเลือกกองทุนไหนดี?

ถ้าเรามองที่ผลตอบแทนเป็นหลัก แน่นอนเราจะเลือก K-INDX เพราะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าที่ 37.3%

แต่ถ้าดูที่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่าความเสี่ยง เราก็จะเลือก K-INDIA เพราะมีค่าความเสี่ยงที่น้อยกว่าที่ 7.1%

—–
.
สิ่งที่เราควรทำคือ ใช้ค่า อัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Risk Adjusted Return) มาพิจารณา

Risk Adjusted Return คือตัวเลขที่บอกเราว่า กองทุนนี้ให้ผลตอบแทนเท่าไรต่อค่าหนึ่งหน่วยความเสี่ยง ถ้าค่านี้ยิ่งมาก หมายความว่า กองทุนนี้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในความเสี่ยงที่เท่ากัน


แต่อย่างไรก็ใน Fund Fact Sheet ส่วนใหญ่จะไม่มีค่านี้มาให้ แต่เราสามารถคำนวณได้ง่ายๆ

โดยใช้สูตร

Risk Adjusted Return = ผลตอบแทน/ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

—–

จากตัวอย่างของเราจะได้ว่า

ปี 2560 Risk Adjusted Return ของ กองทุน K-INDIA มีค่าเท่ากับ 3.81 ในขณะที่กองทุน K-INDX มีค่าเท่ากับ 2.69

ดังนั้นเราควรเลือก กองทุน K-INDIA มากกว่า K-INDX เพราะมีผลตอบแทนมากกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่เท่ากัน




แต่อย่างไรก็ตามการดู Risk Adjusted Return เพียงปีเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เราควรจะดูย้อนหลังกลับไป 3-5 ปีครับ

หมายเหตุ: ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต