สรุปหนังสือ พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน
The little Book of Behavioral Investing
เขียนโดย James Montier แปลโดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์
—
บทนำ
X-System ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์เป็นหลัก
C-System ประมวลผมข้อมูลข่าวสารที่มีตรรกะ
การกระทำของเราส่วนใหญ่เกิดจาก X-System
คนเรามีแนวโน้มที่จะคิดด้วย X-System เพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้
- ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อน
- มีข้อมูลไม่ครบ คลุมเครือ
- เป้าหมายไม่ชัดเจน และมีการแข่งขัน
- มีความกดดันสูง เพราะมีเวลาจำกัด หรือมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก
- การตัดสินใจขึ้นกับการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
การลงทุนเป็นเรื่องเรียบง่ายแต่ไม่ง่าย, ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และขายเมื่อราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคายุติธรรม
—
บทที่ 1: เตรียมตัว วางแผน และกำหนดกลยุทธ์ล่วงหน้า
อาวุธที่เราควรมีเพื่อต่อสู้กับกับดักเชิงพฤติกรรมของ Empathy Gap (ช่องว่างของความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน) และการผัดวันประกันพรุ่งก็คือ การให้คำมั่นสัญญาไว้ล่วงหน้า
ตัวอย่างของ Empathy Gap เช่น หลังจากกินข้าวมือใหญ่เสร็จ เราจะไม่นึกถึงความหิวอีก หรือ เราไม่ควรไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในขณะที่กำลังหิว เพราะจะซื้อมากเกินไป
เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน เมื่อทุกคนกำลังวุ่นวายกับการขายอย่างหมดหวัง มันก็เป็นการยากที่จะต้านทานกระแสแล้วทำการซื้อ ซึ่งกลยุทธ์ที่เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน ใช้คือ ตัดสินใจซื้อก่อนที่จะเกิดการเทขาย “มีรายชื่อหุ้นและราคาเป้าหมาย” และทำคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้า
—
บทที่ 2: ลงทุนเพิ่ม เมื่อถูกทำให้ตกใจกลัว
พฤติกรรมของนักลงทุนที่เกิดขึ้นในช่วง Bear Market คือความกลัว ทำให้คนมองข้ามหรือไม่สนใจหุ้นราคาถูกที่มีอยู่ในตลาด
ทุกครั้งที่ราคาลดลงจะยิ่งทำให้ความต้องการเงินสดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเกิด Terminal Paralysis คนที่มีเงินสดจำนวนมากจะพลาดโอกาสในการทำกำไรเมื่อตลาดฟื้นตัว
ยาที่จะรักษา Terminal Paralysis ได้คือ ต้องมีแผนต่อสู้สำหรับการลงทุนครั้งใหม่และต้องยึดมั่นในแผนนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในเวลาที่ยุ่งยาก
“เต็มใจที่จะถือเงินสดเมื่อไม่มีโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ” “มีวินัยในการขาย”
—
บทที่ 3: แต่ทำไมฉันจึงควรลงทุนในหุ้นตัวนี้
Illusion of Control เราคิดว่าเราสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ เช่น คนยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 4 เท่า เพื่อซื้อล็อตเตอรี่หากพวกเขาสามารถเลือกหมายเลขได้เอง
แหล่งกำเนิดของการมองโลกในแง่ดีแบ่งได้เป็น ที่มาจากธรรมชาติ และการฝึกฝน
การมองโลกในแง่ดีอาจจะเป็นกลยุทธ์ในการดำรงชีวิตที่ยอดเยี่ยม แต่ความหวังไม่ใช่กลยุทธ์การลงทุนที่ดี
เบน เกรแฮม ตระหนึกถึงอันตรายของการมองโลกในแง่ดีเกินไป
“การที่นักลงทุนขาดทุนจำนวนมาก เกิดจากการซื้อหุ้นที่ไม่มีคุณภาพในขณะที่เงื่อนไขทางธุรกิจกำลังดี ผู้ซื้อคิดว่าผลดำเนินการที่ดีในปัจจุบันคือความสามารถในการทำกำไร และคิดว่าการเติบโตนั้นปลอดภัย”
คำถามที่นักลงทุนที่ยอดเยี่ยมถามตัวเองคือ “ทำไมจึงควรลงทุนในหุ้นตัวนี้” ความช่างสงสัยเป็นคุณสมบัติที่ดีของคนฉลาดและมันน่าละอายที่จะยอมแพ้เร็วเกินไปหรือตั้งแต่แรก (จอร์จ ซันตายานา)
—
บทที่ 4: เลิกเชื่อผู้เชี่ยวชาญ
มนุษย์เรามีนิสัยที่จะใช้ความมั่นใจแทนการใช้ทักษะ (นักพยากรณ์อากาศ vs คุณหมอ) และเราชอบคนที่มีความมั่นใจมากกว่าและยินดีจะจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับที่ปรึกษาที่มีความมั่นใจ (แม้จะไม่ถูกต้องแม่นยำ)
คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทำให้สมองของเราหยุดกระบวนการตัดสินใจทางการเงิน เราจะเพียงทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ความมั่นใจในตัวเองที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อความมั่งคั่งของคุณ
เราไม่จำเป็นต้องฉลาดกว่าคนอื่น แต่เราต้องยึดมั่นในวินัยการลงทุนของเรา ไม่สนใจการกระทำของคนอื่นและหยุดฟังพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้เชี่ยวชาญ
—
บทที่ 5: เตรียมตัว – อย่าทำนาย
เล่า จื้อ กล่าวว่า “คนที่มีความรู้จะไม่ทำนาย คนที่ทำนายมักไม่มีความรู้”
เมื่อมีการกำหนดตัวเลข เรามีแนวโน้มที่จะยึดติดกับมันโดยไม่รู้ตัว เช่น ให้ผู้บริหารกองทุน 600 คน เขียนหมายเลขโทรศัพท์ของพวกเราสี่ตัวท้าย จากนั้นให้คาดการณ์จำนวนหมอที่ทำงานในลอนดอน ผลคือ ผู้ที่มีหมายเลยโทรศัพท์เท่ากับและสูงกว่า 7000 คิดว่าจะมีหมอทำงานประมาณ 8000 คน ในขณะที่ผู้ที่มีหมายเลยโทรศัพท์ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 3000 คิดว่ามีหมอทำงานประมาณ 4000 คน
ทางเลือกที่ดีกว่า เช่น
- ใช้ราคาตลาดปัจจุบัน แล้วคำนวณย้อนกลับไปหาอัตราการเติบโตในอนาคต และเปรียบเทียบอัตราการเติบโตนี้กับอัตราการเติบโตในอดีต (PE, growth ในอดีต vs อนาคต)
- เปรียบเทียบมูลค่าทรัพย์สิน กับมูลค่าของความสามารถในการทำกำไร
- โฮเวิร์ด มาร์ค “คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่คุณสามารถเตรียมตัวได้”
เบนจามิน เกรแฮม “คุณไม่จำเป็นต้องรู้น้ำหนักตัวที่แน่นอนของคน เพื่อจะรู้ว่าพวกเขามีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป”
—
บทที่ 6: แยกแยะสัญญาณจากสิ่งรบกวน
ข้อมูลมาก ทำให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้น แต่ความถูกต้องไม่ได้เพิ่มขึ้นตามข้อมูลที่มี
การใช้การตรวจสอบแบบง่ายๆ (checklist) ซึ่งให้ความสนใจกับสิ่งที่สำคัญจริงๆ ย่อมจะดีกว่าสิ่งรบกวนที่กระจายไปทั่วตลาด
ควรให้ความสนใจองค์ประกอบเหล่านี้เป็นพิเศษ
- การประเมินมูลค่า: หุ้นตัวนี้ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากไหม
- งบแสดงฐานะทางการเงิน: หุ้นตัวนี้กำลังจะล้มลายหรือไม่
- วินัยการใช้เงินทุน: ผู้บริหารจัดการกับเงินสดที่ผมให้พวกเขาไปอย่างไร
—
บทที่ 7: ความผันผวนคือโอกาส
ข้อมูลที่มีผลทางจิตใจ แต่ไม่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ (Placebic Information)
คนที่สนใจคำแนะนำการลงทุนที่มุ่งเน้นที่ราคามักจะประสบกับความหายนะ
ความผันผวนส่วนใหญ่ทำให้เสียโอกาสที่จะได้กำไร และความไม่แน่นอนที่เกิดความความผันผวนมักจะทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนนั้นได้
—
บทที่ 8: ถึงเวลาพิสูจน์ว่าตัวเองคิดผิด
อคติที่เกิดจากการยืนยันความเชื่อ เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั่วไปในการลงทุน เรามีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดของเรามากกว่าจะค้นหาข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อเราถึงสองเท่า
เราต้องเรียนรู้ที่จะมองหาหลักฐานที่พิสูจน์ว่าการวิเคราะห์ของเรานั้นผิด
—
บทที่ 9: เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยน ก็เปลี่ยนความคิด
กลุ่มคนที่เชื่อในภาวะตลาดหมี หรือตลาดกระทิง โดยทั่วไปแล้วพวกเขาทำกำไรไม่ค่อยได้ พวกเขามักจะสร้างต้นแบบของข้อสรุปไว้ก่อนแล้ว และลังเลที่จะเปลี่ยนข้อสรุปเมื่อได้รับข้อมูลใหม่
บริษัทจะบอกว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคือสิ่งที่ธุรกิจของพวกเขาต้องเผชิญ และพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบ!
โดยทั่วไปคนมีแนวโน้มที่จะ ไม่มีปฏิกิริยาต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนด้วยสัญญาณที่ชัดเจน
แต่จะ มีปฏิกิริยาที่มากเกินไปต่อสภาพแวดล้อมคงที่และเต็มไปด้วยสัญญารบกวน (ตลาดขาขึ้น)
ต้นทุนจม
ควรทำให้เหมือนกระดาษเปล่าและสมมุติว่าเราอยู่ที่จุดเริ่มต้นที่เป็นศูนย์ (ไม่มีกำไรหรือขาดทุน) และบอกกับตัวเองว่า จากข้อมูลที่มีในขณะนี้ เราจะเริ่มซื้อหรือขาย
พูดง่ายแต่ทำยาก วิธีแก้คือลองคิดว่าเป็นการลงทุนของคนอื่นไม่ใช่ของตัวเอง
—
บทที่ 10: เน้นที่ข้อเท็จจริง
เรื่องเล่า ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยที่ไม่สนใจข้อเท็จจริงเลย
เป็นไปได้ที่นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงหุ้นคุณค่าเพราะบริษัทมีเรื่องราวหรือข่าวที่ไม่ดีและมีราคาต่ำ
นักลงทุนมักจะจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับการเติบโตที่คาดหวัง
การป้องกันตัวจากเรื่องชวนหลงใหล คือ ต้องเน้นที่ข้อเท็จจริง (ใช้เฉพาะตัวเลขที่แท้จริง) ส่วนใหญ่เรื่องชวนหลงใหลจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
—
บทที่ 11: คุณได้เปรียบมืออาชีพอย่างมาก
นักลงทุนมัวแต่ดูรายละเอียดและสิ่งรบกวนทั้งหมด และลืมที่จะดูภาพใหญ่
หากตลาดดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้ มันก็น่าจะเป็นเช่นนั้น
อุปสรรคที่ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่สามารถต่อสู้กับฟองสบู่คือ การมองการณ์ไม่ไกลหรือการให้ความสำคัญในระยะสั้นมากเกินไป
คำพูดที่แพง (น่ากลัว) สำหรับการลงทุนคือ This time is different (เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน)
มืออาชีพจำเป็นต้องลงทุนด้วยความเสี่ยงต่อไปถึงแม้พวกเขาจะรู้ว่านั่นอาจจะเป็นฟองสบู่ เพราะถ้าเขาไม่ลงทุนหุ้นหรือธุรกิจที่ร้อนแรง เขาก็จะแพ้มืออาชีพคนอื่นๆ และต้องตกงาน แต่คุณสามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนที่น่าจะเกิดฟองสบู่นั้นได้
—
บทที่ 12: จดจำความผิดพลาดและอคติของคุณ
- อคติจากการเข้าข้างตัวเอง (Self-Attribution Bias)
“ความเสียหายไม่ได้เป็นเพราะโชคไม่ดี แต่เป็นเพราะวิเคราะห์ผิด”
- อคติจากกการเข้าใจปัญหาหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว (Hindsight Bias)
บันทึกการลงทุน (บันทึกความคิดที่ทำให้เราตัดสินใจลงทุนในขณะนั้น) จะทำให้เรารู้ว่า เรา “ถูกด้วยเหตุผลที่ผิด หรือผิดด้วยเหตุผลที่ถูก” โดยปราศจากอคติทั้งสองแบบ และช่วยให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด
—
บทที่ 13: อย่าประเมินคุณค่าของการอยู่เฉยๆ ต่ำเกินไป
ในทศวรรษที่ 1950, 1960 นักลงทุนเคยถือหุ้นนานประมาณ 7-8 ปี แต่ปัจจุบันระยะเวลาการลงทุนเฉลี่ยใน NYSE คือประมาณหกเดือน!
เราเรียนรู้อะไรจากผู้รักษาประตู? เวลายิงจุดโทษ ถ้าผู้รักษาประตูอยู่ตรงกลางไม่พุ่งไปซ้ายหรือขวา มีโอกาสที่จะป้องกันประตูได้มากกว่า แต่มีผู้รักษาประตูเพียง 6% เท่านั้นที่ยืนตรงกลาง เพราะพวกเขารู้สึกว่าอย่างน้อยก็ได้ใช้ความพยายาแล้ว
ผลงานยิ่งแย่ ความต้องการแสดงออกก็ยิ่งมาก
ความอดทนเป็นอาวุธที่สามารถใช้ป้องกันตัวเองจากการเป็นนักลงทุนที่มีกิจกรรมซื้อขายมากเกินไป
หากคุณไม่สามารถค้นหาสิ่งที่ควรลงทุน การอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลยจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
การถือเงินสดอาจทำให้อึดอัด แต่ไม่อึดอัดเท่ากับการทำอะไรโง่ๆ
ในโลกที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจที่จะค้นหาวิธีทำกำไรทุกนาทีและไขว่คว้าหาความคิดใหม่ๆ มันก็ควรจะยอมรับได้ที่จะไม่ทำอะไรและนั่งรอจนกว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้น และบ่อยครั้งก็จะรู้สึกโดดเดี่ยวและขัดแย้ง แต่พยายามเตือนตัวเองว่า นั่นคือสิ่งที่มีประโยชน์มาก
การลงทุนควรจะน่าเบื่อ มันไม่ควรจะน่าตื่นเต้น
—
บทที่ 14: เป็นนักลงทุนที่เป็นตัวของตัวเอง
นักจิตวิทยาพบว่าคนจะคล้อยตามคำตอบของเสียงส่วนใหญ่ (ที่อาจจะไม่ถูกต้อง)
การกระทำสิ่งที่แตกต่างจากฝูงชนเปรียบเสมือนการแสวงหาความเจ็บปวดหรือทุกข์ทางสังคม
“มันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยม นอกจากคุณต้องทำบางอย่างที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่”
การเอาชนะการคล้อยตามต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ
- ความกล้าที่จะแตกต่าง
- เป็นนักคิดเชิงวิจารณ์
- มีความเพียรและกล้าที่จะยึดมั่นในหลักการ
—
บทที่ 15: เมื่อเวลาขายเงินลงทุนมาถึง (ต้องรู้จังหวะขาย)
การเกลียดความสูญเสีย (Loss Aversion) ทำให้นักลงทุนยังคงถือหุ้นที่ขาดทุนและขายหุ้นที่กำไร (Disposition Effect)
ยิ่งตรวจสอบพอร์ตโฟลิโอบ่อยเท่าไร แนวโน้มที่จะเผชิญกับการสูญเสีย (การขาดทุน) เพราะธรรมชาติที่ผันผวนของราคาหุ้น ก็ยิ่งมาก
การ Stop Losses อาจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นประโยชน์ของการกำหนดไว้ล่วงหน้า ช่วยลดผลกระทบของ Disposition Effect
Endownment Effect เมื่อคุณเป็นเจ้าของบางอย่าง คุณก็จะเริ่มกำหนดมูลค่าของสิ่งนั้นสูงกว่าที่คนอื่นกำหนด
สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจาก Endownment Effect ได้โดย ให้ประเมินว่า ณ ระดับราคาปัจจุบัน หุ้นตัวนี้ควรจะลงทุนเพิ่มหรือไม่ ในกรณีที่ไม่ ควรขายหุ้นตัวนั้น แล้วนำเงินไปซื้อหุ้นที่ควรลงทุนเพิ่ม
“คุณควรรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะถือมัน รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะเลิก รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะเดินจากไป และรู้ว่าเมื่อไร่ควรจะวิ่งหนี คุณไม่เคยนับเงินของคุณขณะนั่งที่โต๊ะ มันมีเวลามากพอที่จะนับเงินเมื่อเลิกเล่นแล้ว”
—
บทที่ 16: สิ่งเดียวที่คุณสามารถควบคุมได้ “กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ”
กระบวนการที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี (สมควรชนะ) หรือผลลัพธ์ที่ไม่ดี (โชคไม่ดี)
กระบวนการที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี (โชคช่วย) หรือผลลัพธ์ที่ไม่ดี (สมควรได้รับ)
สิ่งที่น่ากลัว คือกระบวนที่ไม่ถูกต้อง แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี
เราถูกครอบงำด้วยผลลัพธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ได้ แต่เราสามารถควบคุมกระบวนการลงทุนของเราได้
การบริหารผลตอบแทน เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ได้ การบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่เหลวไหล แต่กระบวนการหรือขั้นตอนเป็นสิ่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไปมีส่วนและควบคุมได้
จิตวิทยาของกระบวนการ
ในการลงทุน ผลลัพธ์มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง เพราะมันเกี่ยวกับช่วงเวลา มันอาจจะถูกต้อง สำหรับมุมมองในระยะ 5 ปี และอาจจะผิด สำหรับมุมมองในระย 6 เดือน หรือในทางกลับกัน
ความผันผวนของราคา จะมีผลกระทบมากกว่าความผันผวนของปัจจัยพื้นฐานหลายเท่า
Outcome Bias (อคติที่เกิดจากผลลัพธ์) คนมักจะตัดสิน การตัดสินใจในอดีต จากผลลัพธ์ มากกว่าจะตัดสิน บนพื้นฐานของคุณภาพการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีในขณะนั้น
—
สรุป: แค่คำสัญญา อาจจะไม่เพียงพอ
ความตั้งใจในปัจจุบัน ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรม
อย่าพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของเราในเวลาเดียวกันมากกว่า 3 อย่าง เพราะเราไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงในทันทีได้มากเกินไป ค้นหาอคติที่ทำให้คุณเสียหายมากที่สุด แล้วแก้ไขเป็นอย่างแรก จะช่วยให้ผลตอบแทนของคุณดีขึ้น เราต้องมุ่งเน้นที่กระบวนการ กระบวนการคือหลักเกณฑ์ที่ควบคุมแนวทางที่เราใช้ในการลงทุน ป้องกันไม่ให้เกิดการลงทุนที่ไม่มีเหตุผล