เงินออมขั้นต่ำที่เราควรมี

หลายคนทำงานมาหลายปี รู้สึกว่าตัวเองไม่มีเงินเก็บเลย หรือบางคนอาจพอมีเงินเก็บอยู่บ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าจำนวนเงินที่ออมได้นั้นน้อยไปไหม?

—–

วันนี้เรามีสูตรคำนวณอย่างง่าย 2 วิธี เพื่อคำนวณเงินออมขั้นต่ำที่เราควรมีมากฝากกัน
(ที่มา: สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย)

—–

วิธีที่ 1
เงินออมที่ควรมี = 1/10 x อายุ x เงินได้ต่อปี
.
เช่น นส.B อายุ 25 ปี มีเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท
.
จากสูตร 
นส. B ควรจะมีเงินออม = 1/10 x 25 x (20,000×12) = 600,000 บาท

—–

วิธีที่ 2
เงินออมที่ควรมี = 1/3 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มงาน) x (เงินได้ต่อปี+เงินได้ต่อปีเมื่อเริ่มทำงาน)/2
.
เช่น จากตัวอย่างเดิม นส.B อายุ 25 ปี มีเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท, เริ่มทำงานตอนอายุ 23 ด้วยเงินเดือน 15,000 บาท

จากสูตร 
นส. B ควรจะมีเงินออม = 1/3 x (25-23) x (240,0000+180,000)/2 = 140,000 บาท

—–

(ข้อสังเกตุ: วิธีแรกจะเน้นคำนึงอายุเราเป็นหลัก ส่วนวิธีที่สองจะคำนึงถึงจำนวนปีที่ทำงานมาแล้วเป็นหลัก

—–

หวังว่าทุกคนจะมีเงินออม มากกว่าตัวเลขที่คำนวณได้จากสูตรทั้งสองวิธีนะครับ