DHG – บริษัทยาที่ใหญ่สุดในตลาดเวียดนาม

Dhg Pharmaceutical Joint-Stock Co (DHG)

 

Pharmaceutical overview

ประชากรเวียดนามมีอัตราการใช้จ่ายเกี่ยวกับยาค่อนข้างต่ำ ในปี 2014 มีอัตราการใช้จ่ายเพียง 34.5 เหรียญสหรัฐ (1,100 บาท) ต่อคนต่อปี ต่ำกว่าประเทศไทยและสิงคโปร์มาก ซึ่งถือว่าตลาดยาเวียดนามมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

 

ระหว่างปี 2007-2016 อุตสาหกรรมยาในเวียดนามโตเฉลี่ยปีละ 14.2%, ในปี 2016 ตลาดมีขนาด 4,194 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นแบ่งเป็นของบริษัทยาท้องถิ่นในเวียดนาม 1,978 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 47% ซึ่งถือว่าโตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

 

อุตสากรรมยาในเวียดนามมีลักษณะแบบ fragmented คือมีผู้เล่นในตลาดมาก และยังไม่พัฒนา (under-develop market)

 

ช่องทางจัดจำหน่ายแบ่งเป็นสองส่วนคือ

  1. OTC (over the counter) คือการจำหน่ายผ่านร้านขายยาทั่วไป ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ ยอดขายจากช่องทางนี้คิดเป็นสัดส่วน 31% ของตลาดรวม
  2. ETC คือการขายยาตามใบสั่งยา และงานประมูลเข้าโรงพยาบาล ยอดขายจากช่องทางนี้คิดเป็นสัดส่วน 69% ของตลาดรวม

 

โรงงานผลิตยากว่า 200 แห่งในเวียดนาม ได้รับมาตรฐาน WHO-GMP แต่มีเพียงบริษัทยาสัญชาติเวียดนามเพียง 2 บริษัทคือ PME และ IMP ที่ได้รับรองมาตรฐาน EU-GMP ซึ่งเข้มงวดกว่า WHO-GMP ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถขายยาในราคาที่แพงกว่าและมีโอกาสมากกว่าในการชนะประมูลงาน

 


 

DHG

DHG เป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ทั้งในแง่ยอดขายและมาร์เกตแคป ปัจจุบัน DHG มี market share อยู่ที่ประมาณ 2% ตามหลังบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างเช่น Pfizer และ GSK; มี GP margin เฉลี่ยที่ 46.3%

DHG มีความแข็งแกร่งในระบบ distribution มีตัวแทนขาย 1,000 คน, 37 สาขาและศูนย์กระจายสินค้า, มีลูกค้ากว่า20,000 รายทั่วประเทศ

 

Revenue Mix ของ DHG

  • แบ่งตามธุรกิจ
  1. Pharmaceuticals (ยา) คิดเป็นสัดส่วน 65.6%
  2. Dietary supplements (อาหารเสริม) คิดเป็นสัดส่วน 10.2%
  3. Others คิดเป็นสัดส่วน 24.2%

 

  • แบ่งตามฟังก์ชั่น
  1. Finished products (ยาที่ผลิตเอง) คิดเป็นสัดส่วน 79.7% มี GP margin 53.6%
  2. Merchandises (ยาที่นำเข้ามาขาย) คิดเป็นสัดส่วน 13.9% มี GP margin 10%
  3. Service คิดเป็นสัดส่วน 1.4%
  4. Promotion คิดเป็นสัดส่วน 5%

 

  • แบ่งตามการรักษา
  1. Antibiotic (กลุ่มยาปฏิชีวนะ) คิดเป็น 40.2%
  2. Analgesic (กลุ่มยาแก้ปวด) คิดเป็น 21.9%
  3. Others คิดเป็น 37.9%

 

  • แบ่งตามช่องทางจำหน่าย
  1. OTC คิดเป็น 86%
  2. ETC คิดเป็น 14%

 

 

DHG ผลิตยา generic drugs (ยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวด) เป็นส่วนใหญ่ (วัตถุดิบผลิตส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะได้ผลกระทบด้านต้นทุนถ้าหากค่าเงินผันผวน) ความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งมีค่อนข้างน้อย ลูกค้าสามารถเลือกซื้อยาชนิดเดียวกันจากผู้ผลิตเจ้าอื่นๆได้

 

DHG มีโรงงาน 2 แห่ง ที่นิคมอุตสาหกรรม Tan Phu Thanh และ Can Tho city (ได้มาตรฐาน WHO-GMP), ปี 2016 มี utilization rate รวม 58.9% โดยโรงงานที่ Tan Phu Thanh (สร้างยอดขาย 30% ของรายได้รวม) ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวน 15 ปี ตั้งแต่ปี 2015 กล่าวคือ เสียภาษี 0% ใน 4 ปีแรก, 5% ใน 9 ปีต่อมา และ 10% ใน 2 ปีสุดท้าย

 

ในปี 2016 Taisho หนึ่งใน top 5 บริษัทยาของญี่ปุ่น และถือเป็นเชี่ยวชาญในตลาด OTC ได้เข้ามาเป็น partner กับ DHG โดยถือหุ้นที่ 24.5% และมีแนวโน้มที่จะถือหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อ DHG ได้รับอนุมัติให้ยกเลิก FOL (foreign ownership limits) ในอนาคต ซึง Taisho จะได้ประโยชน์จากเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งของ DHG ในขณะเดียวกัน DHG ก็จะได้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้าน  R&D ของ Taisho

 

เป็นที่สังเกตว่า บริษัทยาท้องถิ่นของเวียดนามส่วนใหญ่จะเริ่มเป็น partner กับบริษัทผู้ผลิตยาต่างชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบกับบริษัทยาต่างชาติเองก็เห็นโอกาสทีดีในตลาดเวียดนาม

 


 

ปี 2018 DHG ได้อัพเกรดสายการผลิตยาบางตัวในโรงงานที่ Tan Phu Thanh ให้รองรับมาตรฐาน PIC/S ซึ่งจะทำให้ สามารถส่งยาไปขายที่มาเลเซียได้ และยังมีแผนอัพเกรดสายผลิตอื่น ให้ได้มาตรฐาน PIC/S, PMDA และ EU-GMP ในอนาคต

86% ของยอดขาย DHG มาจากช่องทาง OTC ซึ่งมีการแข่งขันที่สูง, ปี 2017 DHG เติบโต 3% ในขณะที่ตลาด OTC เองติดลบ 1% DHG มีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 2 ในตลาด OTC

ปี 2015-2017 มีการเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่คาดว่า ปี 2018 DHG จะสามารถกลับมาเติบโตเป็นเลขสองหลักได้อีกครั้ง หลังจากทำการปรับปรุงย้ายโรงงาน, การต่อทะเบียนใบอนุญาตยาต่างๆ รวมทั้งปรับโครงสร้างฝ่ายขาย, ระบบโลจิสติกและบัญชีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

เรียงอันดับตามยอดขาย ของบริษัทยาเวียดนาม ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

  1. DHG 5.9 พันล้านบาท
  2. TRA 2.7 พันล้านบาท
  3. PME 2.4 พันล้านบาท
  4. DMC 2 พันล้านบาท
  5. IMP 1.7 พันล้านบาท

 

เทียบกับ MEGA

ปี 2017

ยอดขาย : MEGA 9.6 พันล้านบาท : DHG 5.9 พันล้านบาท

Market Cap: MEGA 3.6 หมื่นล้านบาท: DHG 2 หมื่นล้านบาท

PE: MEGA 30.5 เท่า : DHG 23.5 เท่า