KDC – กับเป้าหมายการเป็น Food Conglomerate

KIDO Group (KDC)

KDC ก่อตั้งในปี 1993 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ HOSE ปี 2015, ในปี 2003 KDC ได้ซื้อโรงงานผลิต (Production line) ของไอศครีม Wall’s ในเวียดนาม จาก Unilever และตั้งบริษัทย่อยชื่อ KDF (Kido Frozen foods) เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ไอศครีม, โยเกิร์ต และอาหารแช่แข็ง เช่น ติ่มซำ

ระหว่างปี 2014-2016 ตลาดไอศครีมของเวียดนามโตถึง 2 เท่า เช่นเดียวกับยอดขายของ KDF ที่โต 2 เท่าเช่นกัน

KDF นั้นมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมากในตลาดไอศครีมของเวียดนาม มาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับหนึ่งมากกว่า 10 ปี ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 35% ในปี 2016 และเพิ่มเป็น 40% ในปี 2017,  ปี 2016 KDF มียอดขาย 1,396 พันล้านดอง

นอกจากธุรกิจ Frozen foods ที่ทำในนามบริษัทย่อย KDF แล้ว KDC ยังมีอีก 2 กลุ่มธุรกิจหลักคือ ธุรกิจขนมหวาน-ลูกอม (Confectionery) ในชื่อแบรนด์ Kinh Do และธุรกิจน้ำมันพืช ในชื่อแบรนด์ Vocarimex (ticker: VOC)  (ในปี 2014 KDC ถือหุ้นใน VOC 24%) และยังมีธุรกิจ real estate แต่คิดเป็นสัดส่วนรายได้ที่น้อยมาก


ผู้บริหาร KDC เห็นว่าใน สามกลุ่มธุรกิจหลักที่บริษัททำอยู่ (ไอศครีม, ขนมหวาน, และน้ำมันพืช) น้ำมันพืชมีความน่าสนใจมากที่สุดเพราะ Editable oil มีขนาดตลาดที่ใหญ่มากถึง 35,000 พันล้านดอง เทียบกับขนาดตลาดของไอศครีมที่ 3,700 พันล้านดอง (ใหญ่กว่า 10 เท่า) ในขณะที่อัตราการเติบโตของตลาดขนมหวาน ที่โตเฉลี่ยปีละ 5% นั้นก็ไม่ค่อยน่าสนใจ

ปี 2015 KDC จึงได้ขายธุรกิจ Confectionery ออกไปทั้งหมด ให้กลุ่มบริษัท Mondelez ของอเมริกา และในปี 2017, KDC ก็ได้ spin off บริษัทย่อยคือ KDF ออกมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือเพียง 65%

โดยเหตุผลในการทำดีลทั้งสองนี้ของ KDC คือต้องการเงินทุนเพิ่ม เพื่อมาโฟกัสกับธุรกิจ edible oil ที่ผู้บริหารได้เลือกไว้เป็น key strategic ของบริษัท

KDC ได้ลงทุนเพิ่มใน VOC โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจาก 24% เป็น 51% และยังได้เข้าลงทุนใน Edible oil อีก 1 บริษัทคือ Tuong An (ticker: TAC) โดยเข้าถือหุ้น 65%

ทำให้ปัจจุบัน KDC มีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 2 ในธุรกิจน้ำมันพืชของเวียดนาม โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 30% ตามหลังเบอร์ 1 คือ Calofic ที่มีส่วนแบ่งตลาด 40%

เพิ่อเป้าหมายการเป็น Food conglomerate ในเวียดนาม ในปี 2017 KDC จึงได้เข้าลงทุนเพิ่มอีก ไม่ว่าจะเป็น

  • ลงทุนในบริษัท Dabaco Foods (บริษัทย่อยของ Dabaco, DBC) เพื่อเข้าสู่ธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูป และอาหารกระป๋อง
  • ทำ JV กับบริษัทไทย เพื่อพัฒนาธุรกิจซอสและเครื่องปรุง (ตลาดนี้ไม่ง่าย เพราะ Mason ครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะน้ำปลาที่มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 60%)
  • ทำ JV กับบริษัทแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย เพื่อเข้าสู่ธุรกิจอาหาร

แต่ในธุรกิจใหม่นี้ KDC จะผลิตสินค้าขายแบบ OEM, ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า KDC ลงทุนสร้างแบรนด์ไปเลยน่าจะดีกว่า เพื่อการเติบโตในอนาคต


ผลงานในปี 2017

แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ

  1. Frozen Food

ไอศครีม ยอดขายโต 16%, โยเกิร์ต ยอดขายลดลง 23.6% ซึ่งยอดขายทั้งไอศครีมและโยเกิร์ต ต่ำกว่าเป้าหมายบริษัทเกือบ 30% โดยผู้บริหารให้เหตุผลในเรื่องของอากาศที่เย็นในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาในตอนเหนือของเวียดนาม

  1. Edible Oil

ในปี 2017 ตลาด Edible oil ในเวียดนาม มี volume โต 5% และยอดขายโต 11%

  • TAC สามารถเพิ่ม gross margin จาก 4% ในปี 2016 เป็น 13% ในปี 2017 ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูงขึ้น
  • VOC gross margin ต่ำเพียง 6%

สังเกตว่ารายได้กว่า 80% ของ KDC มาจากธุรกิจ Edible oil 2 บริษัท คือ TAC และ VOC


การปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจของ KDF ในช่วงปี 2014-2017 ทำให้นักลงทุนประสบความยากลำบากในการวิเคราะห์ตัวเลข และเปรียบเทียบการเติบโต เพราะมีรายการพิเศษ (financial income) เพิ่มขึ้นมา ทั้งจากการขายธุรกิจ และเงินลงทุนในธุรกิจใหม่ ทำให้ในบางช่วงเวลา KDF มี PE ที่ดูเหมือนว่าถูกมาก (< 7) แต่ผ่านไป 1 ไตรมาส PE ก็กลับมาอยู่ในระดับ 20-30 เท่า

ปัจจุบัน KDC มีสถานะเป็น Holding Company ไปแล้ว การที่จะวิเคราะห์บริษัทนั้น นักลงทุนต้องติดตามและดูงบบริษัทเพิ่มอีก 3 บริษัท คือ VOC, TAC และ KDF และจริงๆแล้ว ธุรกิจ Edible oil เองก็เป็นสินค้า commodity และไม่น่าจะมีการเติบโตที่สูงนัก (ใครๆก็ใช้กันหมดแล้ว?) อีกทั้งสองยี่ห้อก็ไม่ใช่เบอร์ 1 ของตลาด ประกอบกับ valuation ของ KDC ที่ถือว่าไม่ถูก (PE 20 เท่า) ทำให้การติดตามหุ้นตัวนี้อาจจะไม่คุ้มค่าเหนื่อย