SCS – duopoly market กับความคาดหวัง
Saigon Cargo Service (SCS)
ให้บริการ air cargo เช่นเดียวกับ NCT แต่ให้บริการอยู่ที่สนามบิน Tan San Nhat (TSN) ในโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม, ปริมาณ air cargo ที่ TSN มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงปีละ 17%
SCS จดทะเบียนในตลาด UpCom และมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็น GMD (35%) และ ACV (14%) ทำให้หุ้นมี liquidity ที่ค่อนข้างต่ำ
(เดือนสิงหาคม 2018 SCS ได้ย้ายมาจดทะเบียนในตลาดหลัก HOSE แล้ว)
ความน่าสนใจของ SCS อยู่ที่ทำธุรกิจอยู่ในตลาดที่มีผู้ขายเพียง 2 ราย (duopoly market) กล่าวคือ ในสนามบิน Tan San Nhat นั้นมีผู้ให้บริการ air cargo เพียง 2 รายเท่านั้น คือ SCS และ TCS (Tan Son Nhat Cargo) และที่สำคัญ TCS คู่แข่งเพียงหนึ่งเดียว ได้ใช้เต็ม capacity ของตัวเองไปแล้ว (350,000 ตัน/ปี) และไม่มีพื้นที่ให้ขยายได้อีก
ขณะที่ SCS ยังมี capacityเหลือ โดยใช้ไปเพียง 70% ของ capacity ปัจจุบัน ที่ 200,000 ตัน/ปี และยังสามารถขยายได้อีกเป็น 350,000 ตัน/ปี โดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำ เรียกได้ว่ายังมีช่องว่างให้ SCS โตได้อีกมาก
นอกจากนี้ SCS ยังเป็นผู้ให้บริการ air cargo ในสนามบิน TSN เพียงเจ้าเดียวที่ให้บริการ cold storageได้ ซึ่งรายได้จาก cold storage นี้ คิดเป็น 18% ของรายได้ทั้งหมดของ SCS
SCS มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้ 25% (สูงกว่าตลาด) และมี GP margin ที่สูงมากถึง 77% (NCT มี GP margin 50%)
ปี 2017 SCS มีรายได้ 588,317 ล้านดอง (852 ล้านบาท) โดยมีสัดส่วนรายได้จากการให้บริการ warehouse และ handling 92%, ให้เช่าออฟฟิศ 7% และอื่นๆอีก 1%
ความเสี่ยงของ SCS
ในบทวิเคราะห์หุ้นของโบรกเกอร์เวียดนามบอกว่า ความเป็นไปได้ที่ SCS จะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามา (เช่นเดียวกับกรณีของ ALS ในสนามบิน Noi Bai) เกือบเท่ากับศูนย์ โดยให้เหตุผลว่า พื้นที่รอบๆสนามบิน Tan San Nhat นั้นแทบจะไม่มีเหลือ และไม่เหมาะที่จะสร้าง warehouse ใหม่แล้ว
แต่โดยส่วนตัวคิดว่า การเติบโตของ SCS จะขึ้นอยู่กับนโยบายของทางการเวียดนาม และ ACV (เจ้าของสนามบิน) อยู่มาก, ไม่ว่าจะเป็นโปรเจคการขยายสนามบิน Tan San Nhat เอง ที่มีแผนจะสร้าง terminal ใหม่ (ยังไม่ได้เริ่มทำ) และถึงเมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ไม่แน่ว่า SCS จะได้สิทธิ์เช่าพื้นที่มาบริหารหรือไม่
รวมถึงความไม่แน่นอนที่เกิดจาก โปรเจคสร้างสนามบินใหม่, Long Thanh International Airport, ที่จังหวัด Nong Bai (ห่างจากโฮจิมินห์ 40 กม.) ซึ่งเมื่อ phase 1 ที่คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2025 เริ่มเปิดใช้ จะต้องเกิดการแย่งลูกค้า air cargo จากสนามบินเดิมที่ TSN แน่นอน, ที่สำคัญ ยังไม่แน่ว่า ACV จะให้สิทธิ์ SCS เป็นผู้บริหาร air cargo ที่สนามบินใหม่แห่งนี้หรือไม่ อาจจะเป็นบริษัทอื่นก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลัง อนาคตของ SCS คงจะดับวูบแน่นอน
ด้วยอัตราการเติบโต และ margin ในอดีตที่ผ่านมารวมถึงปัจจุบันของ SCS ที่สูง ทำให้นักลงทุนคาดหวัง และให้ value กับหุ้นค่อนข้างมาก (ปัจจุบันมี PE ที่ 27 เท่า Vs. NCT ที่มี PE 9 เท่า อยู่ในธุรกิจเดียวกันแต่อยู่คนละสนามบิน) แต่เราควรระวังและติดตามข่าวสารในประเด็นที่กล่าวไว้ด้านบน เพราะเป็นปัจจัยภายนอกที่ SCS ควบคุมไม่ได้ และจะมีผลกระทบอย่างมากกับบริษัท